การลงทุน
กลยุทธ์บริหารความเสี่ยง
ก่อนจะเริ่มบริหารความเสี่ยง คุณต้องรู้ก่อนว่าคุณสามารถยอมรับความเสี่ยงได้ถึงระดับไหน นอกจากนี้คุณยังต้องพิจารณาอีกว่า คุณจะสามารถจัดการกับอารมณ์และพอร์ตการลงทุนของคุณได้ดีแค่ไหนเมื่อตลาดมีการเปลี่ยนแปลง
รู้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ก่อน
การรู้ระดับความเสี่ยงที่ตัวเองยอมรับได้จะช่วยให้คุณรู้ว่าคุณเป็นนักลงทุนประเภทไหน เช่น ลงทุนแบบระมัดระวัง (ไม่ค่อยชอบความเสี่ยง) หรือลงทุนแบบเชิงรุก (ยอมรับความเสี่ยงได้มากกว่า) การประเมินนี้จะช่วยให้คุณเลือกการลงทุนและสร้างพอร์ตการลงทุนในระดับความเสี่ยงที่คุณพึงพอใจ ในขณะที่ยังคงดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
เมื่อคุณเดินทางมาจนใกล้จะบรรลุเป้าหมายในการลงทุนของคุณแล้ว คุณจะมีเวลาน้อยลงที่จะฟื้นตัวจากการที่ตลาดดิ่งลงในระยะสั้น การรักษามูลค่าของการลงทุนจึงมีความสำคัญมากกว่าการแสวงหาผลตอบแทน เมื่อเวลาผ่านไป คุณอาจจะต้องลงทุนแบบระมัดระวังมากยิ่งขึ้น เนื่องจากคุณมีเวลาน้อยลงในการลงทุนและกู้คืนจากภาวะตกต่ำ
อย่าซื้อแพงแล้วขายถูก
หนึ่งในกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การทำตามแผนที่วางไว้ การเลือกที่จะไปต่อก็เหมือนเป็นการให้เวลากับตัวเองในการเปลี่ยนแปลงช่วงที่มีความผันผวน เมื่อคุณลงทุนเพื่อเป้าหมายระยะยาว เช่น การเกษียณอายุ ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะคุณจะรู้สึกยอมรับได้กับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ยิ่งลงทุนเร็ว คุณจะยิ่งมีระยะเวลาที่นานกว่าในการฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจขาลงและช่วยให้คุณได้รับประโยชน์จากการเติบโตของตลาดด้วย แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ไม่ชอบความเสี่ยงหรือรับได้แค่ความเสี่ยงต่ำ การเริ่มลงทุนตั้งแต่เนิ่นๆ ทำให้คุณมีเวลามากพอที่จะลงทุนให้งอกเงยด้วยความเสี่ยงที่ไม่สูงมาก
จงกระจายความเสี่ยง!
กลยุทธ์สุดท้ายในการบริหารความเสี่ยง ก็คือ ต้องกระจายการลงทุน การกระจายความเสี่ยงเป็นแนวคิดสำคัญที่ต้องจำในการสร้างพอร์ตการลงทุน คุณสามารถปรับสมดุลความผันผวนของตัวเลือกที่มีความเสี่ยงด้วยการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า เพียงกระจายเงินของคุณไปลงทุนในสิ่งที่ต่างกัน